วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

7. กรอบแนวความคิดในการวิจัย( Conceptual ramework )


7. กรอบแนวความคิดในการวิจัย( Conceptual  ramework )
                ภิรมย์  กมลรัตนกุล http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว
                ไพศาล วรคำ (2532:12)  กรอบความคิดในการวิจัย (conceptual framework) หมายถึง แบบจำลองที่นักวิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฏีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่ เพียงใด ในรายงานการวิจัย นักวิจัยนิยมเสนอกรอบความคิดในการวิจัยในรูปแบบของโมเดล หรือแผนภาพแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย
              www.research.doae.go.th/   กรอบความคิดในการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา เพื่อหาคำตอบในการวิจัยโดยมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีรองรับ มิใช่กำหนดขึ้นตามความพอใจโดยปราศจากหลักเกณฑ์
สรุป  กรอบความคิดในการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา สร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฏีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่ เพียงใด ในรายงานการวิจัย นักวิจัยนิยมเสนอกรอบความคิดในการวิจัยในรูปแบบของโมเดล หรือแผนภาพแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย

อ้างอิง
 ภิรมย์  กมลรัตนกุล.  ://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5.  เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555.
ไพศาล วรคำ.  (2532). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
www.research.doae.go.th/.   เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น