วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

21. เอกสารอ้างอิง (References)


21. เอกสารอ้างอิง (References)
                http://wtoy9996.blogspot.com/   การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงรวมทั่งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม
การอ้างอิงเอกสาร หรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                             1. การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ)
                             2. การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809   เอกสารอ้างอิง หมายถึง หนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการค้นคว้าที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาหาข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานโดยให้เขียนชื่อหนังสือที่เป็นภาษาไทยให้ครบทุกเล่มก่อน และต่อด้วยหนังสือภาษาอังกฤษ โดยเรียงชื่อผู้แต่งตามอักษรก่อนหลัง
              http://www.slideshare.net/jiratt/ss-4800617   เอกสารอ้างอิง เป็นรายชื่อสิ่งพิมพ์ หรือโสตทัศนวัสดุที่ผู้วิจัยใช้อ้างอิงในการวิจัย ซึ่งได้เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ดังนั้นรายการเอกสารอ้างอิงจึงควรมีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สรุป  เอกสารอ้างอิง หมายถึง  แหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิมซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ การอ้างอิงเอกสาร หรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
             1. การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ)
             2. การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)
อ้างอิง
http://wtoy9996.blogspot.com/.  เข้าถึงเมื่อ 24/12/55
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809.   เข้าถึงเมื่อ 24/12/55      
http://www.slideshare.net/jiratt/ss-4800617.   เข้าถึงเมื่อ 24/12/55


18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)


18.  อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)
          http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
         1. ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
        2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย                                    
        3. มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย                                                                                                 
        4. นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย                
        5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข                                                                                                                                                              
         1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ                  
         2. สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ                                              
         3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ        
         4. ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ                                                                                               
         5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

        ไพศาล วรคำ (2532:12)  กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
 แนวทางการแก้ไข
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

         cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
แนวทางการแก้ไข
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว
 สรุป
การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้และมองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง
แนวทางการแก้ไข                                                                              
         1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ                  
         2. สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ                                              
        3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ        
        4. ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ                                                                                               
       5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

อ้างอิง
http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf.  เข้าถึงเมื่อวันที่  20 ธันวาคม 2555.
ไพศาล วรคำ.  (2532). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.  เข้าถึงเมื่อวันที่  20 ธันวาคม 2555.

6. สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)


6. สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)
         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผล จึงมักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค AIDS
สมมติฐาน ทำหน้าที่เสมือน เป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถ้าทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน เช่น การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory or formulative research) เป็นต้น
       ไพศาล วรคำ (2532:12)  สมมติฐาน คือ ข้อเท็จจริงที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือระหว่างข้อความในเชิงที่สามารถทำการทดสอบได้ โดยทั่วไปสมมติฐานเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี หากข้อสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงเสมอจึงกลายเป็นกฎ
        http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/t2-32.htm  สมมติฐาน  คือ การคาดคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์  และการศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับจนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อน  จึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่  ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อ และทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานไปพร้อมๆ กัน
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
      1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย  มักนิยมใช้วลี "ถ้าดังนั้น"
      2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
      3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
      4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่เคยยอมรับอาจล้มเลิกได้ถ้ามีข้อมูลจากการทดลองใหม่ๆ มาลบล้าง  แต่ก็มีบางสมมติฐานที่ไม่มีข้อมูลจากการทดลองมาคัดค้านทำให้สมมติฐานเหล่านั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้อง เช่น สมมติฐานของเมนเดลเกี่ยวกับหน่วยกรรมพันธุ์ ซึ่งเปลี่ยนกฎการแยกตัวของยีน หรือสมมติฐานของอโวกาโดรซึ่งเปลี่ยนเป็นกฎของอโวกาโดร
สรุป  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผลสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถ้าทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น  หากข้อสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงเสมอจึงกลายเป็นกฎ
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
      1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย  มักนิยมใช้วลี "ถ้าดังนั้น"
      2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
      3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
      4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้ง  ไว้
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5.  เข้าถึงเมื่อ10/12/55
ไพศาล วรคำ.  (2532). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/t2-32.htm.   เข้าถึงเมื่อ10/12/55

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective (s))


5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective (s))
           http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  ในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ อันเป็นสิ่งซึ่งผู้วิจัยมุ่งหวัง ที่จะทำให้การวิจัยนั้น บรรลุทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้
โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
     ก. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
     ข. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
       1. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                  ตัวอย่างเช่น
                  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน

      2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        http://www.oknation.net/blog/print.php?id=359275  วัตถุประสงค์ของการวิจัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ไว้ 8 ประการคือ
      1. เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม หรือเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะทำวิจัยในเรื่องต่อๆไป
      2. เพื่ออธิบายความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยการให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือ
      3. เพื่อประเมินประเด็นต่าง ๆ ทางด้านสังคมและผลกระทบที่มีต่อสังคมนั้นๆ
      4. เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์ในอนาคต
      5. เพื่อพัฒนาหรือทดสอบทฤษฎี
      6. เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์
      7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
      8. เพื่อเสนอแนะทางออกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อการแก้ปัญหาสังคม
สรุป  
      วัตถุประสงค์ของการวิจัยในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ  โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
      ก. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
      ข. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/12/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.   เข้าถึงเมื่อ10/12/55
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=359275.   เข้าถึงเมื่อ10/12/55






11. รูปแบบการวิจัย (Research Design)


11.  รูปแบบการวิจัย (Research Design)
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2533:16)  กล่าวว่า รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง

 เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535:228)  กล่าวว่า รูปแบบการวิจัยจะต้องมีรูปแบบ(format)ตามที่หน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยหรือองค์กรที่จะตีพิมพ์งานวิจัยออกเผยแพร่กำหนด รูปแบบของการวิจัย เป็นแนวทางโดยทั่วไปของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่ และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น รูปแบบของการเขียนรายงานวิจัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย โดยปกติหน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยออกเผยแพร่แต่ละองค์กรด้วย จะกำหนดรูปแบบของรายงานวิจัยนั้นขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายถือปฏิบัติฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มเขียนรายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบของรายงานการวิจัยที่หน่วยงานกำกับการดำเนินงานวิจัยของตน และองค์กรที่ตนประสงค์จะให้ตีพิมพ์รายงานวิจัยของตนออกเผยแพร่  กำหนดและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆของรูปแบบนั้น  แล้วปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการเขียนรายงานวิจัย

ไพศาล หวังพานิช  (2531:80)  กล่าวว่า รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกัน ซึ้งมีตั้งแต่แบบที่ง่ายไปจนถึงแบบที่สลับซับซ้อนการที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการศึกษา ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง ลึกซึงแค่ไหน

สรุป  
รูปแบบการวิจัย    (Research Design) เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้นเป็นการวิจัยที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องตามที่หน่วยงานกำหนดหรือกำกับการดำเนินงานวิจัยของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น เช่นตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร ฯ ทำความเข้าใจกับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ ของรูปแบบนั้นแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

อ้างอิง
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.การวิจัย การวัดและประเมินผล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศรีอนันต์.2533.                        
เรืองอุไร ศรีนิลทา.ระเบียบวิธีวิจัย.กรุงเทพฯ:สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2535.
ไพศาล หวังพานิช.วิธีการวิจัย.กรุงเทพฯ:งานส่งเสริมวิจัยและตำรากองบริหารการศึกษามหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.2531. 

12. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)


12. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5   ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ก. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample)
ข. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
ถ้ารูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงส่วนที่ 3 อันได้แก่ การกำหนดสิ่งที่ต้องการ
        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)
        เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจะทำอย่างไร  โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
        1  วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
        2  แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
        3  ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
        4  วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
        5  วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
        6  การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้


        images.jpatmod1.multiply.multiplycontent.com/   ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย
          1 ประชากร (population) และตัวอย่าง (sample) มีรายละเอียดในเรื่อง
                 1.1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรและตัวอย่าง ทั้งกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(inclusion criteria) และกฎเกณฑ์ในการตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria)
                 1.2) เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหรือไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
                 1.3) การคำนวณขนาดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้จะเป็นจำนวนตัวอย่างที่น้อยที่สุดที่สามารถตอบคำถามหลักของการวิจัยนั้น
          2 การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
                 2.1) ตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติ
                 2.2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร
          3 วิธีการหรือสิ่งแทรกแซง (Intervention) กรณีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ควรอธิบายให้ละเอียดว่าใคร ทำอะไร ให้แก่ใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ระยะเวลาที่ให้สิ่งแทรกแซง
                สรุป   ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย
          1 ประชากร (population) และตัวอย่าง (sample) มีรายละเอียดในเรื่อง
                 1.1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรและตัวอย่าง ทั้งกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(inclusion criteria) และกฎเกณฑ์ในการตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria)
                1. 2) เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหรือไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
                 1.3) การคำนวณขนาดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้จะเป็นจำนวนตัวอย่างที่น้อยที่สุดที่สามารถตอบคำถามหลักของการวิจัยนั้น
          2 การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
                 2.1) ตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติ
                 2.2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร
          3 วิธีการหรือสิ่งแทรกแซง (Intervention) กรณีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ควรอธิบายให้ละเอียดว่าใคร ทำอะไร ให้แก่ใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ระยะเวลาที่ให้สิ่งแทรกแซง
                และที่สำคัญต้องรู้จัก วิธีวิจัยว่าจะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5.  เข้าถึงเมื่อ14/12/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921เข้าถึงเมื่อ14/12/55
images.jpatmod1.multiply.multiplycontent.com/   .เข้าถึงเมื่อ14/12/55

22. ภาคผนวก (Appendix)


22.  ภาคผนวก (Appendix)
 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  กล่าวว่า  สิ่งที่นำมาเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
ไพศาล วรคำ (2532:12)   กล่าวว่าภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกอาจประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากส่วนที่จัดไว้ในเนื้อหา สำเนาเอกสารหายาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ นอกจากนี้อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น คำอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน หรือวิธีทำภาพประกอบ การสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทดลองผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นในโครงการวิจัยนั้น ๆ สำหรับกรณีมีภาคผนวกหลายภาค ให้จัดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข
และภาคผนวก ค ตามลำดับ และให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อขึ้นภาคผนวกใหม่และพิมพ์หน้าบอกตอนสำหรับภาคผนวกนั้น ๆ ด้วย
actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf  กล่าวว่าภาคผนวก เป็นส่วนท้ายของตำรา ซึ่งไม่ใช่เนื้อเรื่องแท้จริงของงานเขียน ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสิ่งที่จะนำมาไว้ในภาคผนวกจะประกอบด้วย
1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ ในการเขียนตำรา หรือรายงานการวิจัย บางครั้งอาจมีตาราง กราฟ แผนที่และแผนภูมิ ซึ่งมีความละเอียด หากใส่ไว้ในเนื้อหาจะทำให้เรื่องไม่กระชับ
2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ นิยมนำเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ มาใส่ไว้ในภาคผนวก เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษารายละเอียดและเป็นหลักฐานยืนยัน
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ในกรณีที่การวิจัยนั้นมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูล เช่น การตรวจสอบความเที่ยง ตรวจสอบความตรง วิเคราะห์ความยากง่าย และอำนาจจำแนก โดยจะนำผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์มานำเสนอไว้ และมีตัวอย่างการคำนวณด้วยเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปศึกษาค้นคว้าต่อไป
4. ภาพประกอบต่าง ๆ สูตรการใช้สารเคมี ในกรณีที่ผู้เขียนได้เขียนเอกสารทางวิชาการ ด้านการเกษตร บทเรียนโปรแกรมสำเร็จรูป สามารถแยกมาไว้ในภาคผนวก จะทำให้เขียนรายละเอียดได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น
5. สำเนาเอกสารหายาก รายงานการวิจัยบางเรื่องอาจจะต้องใช้เอกสารหลักฐานจำนวนมากที่หายากเพื่อใช้ประกอบในงาน จึงควรนำมาใส่รวมกันไว้ในภาคผนวก
6. ข้อความ ทฤษฎี หรือเทคนิควิธีที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดมาก รวมทั้งวิธีการคำนวณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติ ก็จะนำรายละเอียดมาใส่ไว้ด้วยกัน
7. หนังสือขอความร่วมมือเก็บข้อมูล หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือหนังสืออื่น ๆ ที่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย
ส่วนประกอบของภาคผนวกเหล่านี้ เมื่อนำมาไว้ในภาคผนวกจะจัดแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของเอกสารข้อมูล โดยอาจกำหนดเป็นภาคผนวก ก...ข...ค ซึ่งจะต้องระบุไว้ในสารบัญ โดยเรียงลำดับต่อจากสารบัญเนื้อหา

สรุป 
ภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม

อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2555
ไพศาล วรคำ.  (2532). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf  .เข้าถึงเมื่อ 26ธันวาคม 2555