วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

16. ข้อจำกัดในการวิจัย ( Limitation )/ ขอบเขตการทำวิจัย


16. ข้อจำกัดในการวิจัย ( Limitation )/ ขอบเขตการทำวิจัย
             http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
             
ไพศาล วรคำ (2532:12)
                   1.  ขอบเขตของการวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตของการวิจัยครั้งนี้ให้จำเพาะเจาะจง ว่าสิ่งใดต้องการวิจัยและสิ่งใดที่ไม่ต้องการวิจัย
                   2. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการจำกัดขอบเขตในด้านต่าง ๆของการวิจัยให้แคบลงเพื่อไม่ให้งานวิจัยมีขอบเขตการศึกษากว้างขวางจนเกินไป ซึ่งหมายถึงสาระหรือวัตถุประสงค์หรือประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษารวมทั้งประเภทและลักษณะของประชากรที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา
                  3. รูปแบบการเขียน ขอบเขตการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วย 5 เรื่อง
                          - ขอบเขตเกี่ยวกับประเด็นหลักในชื่อเรื่อง
                         - ขอบเขตเกี่ยวกับประชากรในการวิจัย
                         - ขอบเขตเกี่ยวกับพื้นที่ที่ใช้วิจัย
                         - ขอบเขตเกี่ยวกับเวลาที่ทำวิจัย
                         - ขอบเขตเกี่ยวกับตัวแปร                                                                                                                                               
                  4. การเขียนขอบเขตการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
                         - เขียนเป็นข้อๆหรืออาจเขียนพรรณนาก็ได้
                         - เขียนให้ขยายความขอบเขตที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องการวิจัย
                         - เขียนโดยใช้คำที่แสดงถึงขอบเขต เช่น คำว่าศึกษาเฉพาะ’ ‘ครอบคลุมถึงหรือไม่รวมถึงหรือจบด้วยเท่านั้น
        http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.htm  ขอบเขตของงานวิจัย( boundary of research problem ) มักพบเจอในการเขียนบทที่ 1 การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนี้ เกี่ยวข้องใกล้ชิด กับการกำหนดปัญหาการวิจัยที่ชัดเจน ลักษณะของขอบเขตของการวิจัยมีประเด็นที่ควรกล่าวถึง ประกอบด้วย ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่างหรือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ที่ต้องระบุว่ามีลักษณะเช่นใด เกี่ยวกับ ชาติพันธุ์ เพศ เศรษฐกิจและสังคมที่จะทำให้ผู้อ่านงานวิจัย หรือนักวิจัยเองทราบว่า การตีความข้อค้นพบหรือ ผลจากการวิจัย ทำภายในขอบเขตเช่นไร เช่น การวิจัยเพื่อสร้างโมเดล การออมเงินของ นักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตของการตีความก็อยู่ในบริบทของอายุ และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตด้านทฤษฎี อาจประกอบด้วยการระบุชื่อของทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง การตีความต้องอยู่บนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนั้น ในงานวิจัยระดับปริญญาเอก โท ของหลายมหาวิทยาลัยเวลาระบุเกี่ยวกับขอบเขตไปใส่หัวข้อว่ากลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม นั้นเป็นการเขียนที่บอกข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขต แต่มิได้เป็นการระบุขอบเขตที่ควรทำเพราะให้ข้อมูลในระดับปฏิบัติการมากการให้ข้อมูลระดับconcept
สรุป         เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา
รูปแบบการเขียนขอบเขตการวิจัยประกอบด้วย 5 เรื่อง
              - ขอบเขตเกี่ยวกับประเด็นหลักในชื่อเรื่อง
             - ขอบเขตเกี่ยวกับประชากรในการวิจัย
             - ขอบเขตเกี่ยวกับพื้นที่ที่ใช้วิจัย
             - ขอบเขตเกี่ยวกับเวลาที่ทำวิจัย
             - ขอบเขตเกี่ยวกับตัวแปร                                                                                                                                               
การเขียนขอบเขตการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
            - เขียนเป็นข้อๆหรืออาจเขียนพรรณนาก็ได้
           - เขียนให้ขยายความขอบเขตที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องการวิจัย
           - เขียนโดยใช้คำที่แสดงถึงขอบเขต เช่น คำว่าศึกษาเฉพาะ’ ‘ครอบคลุมถึงหรือไม่รวมถึงหรือจบด้วยเท่านั้น
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921เข้าถึงเมื่อ10/12/55
 ไพศาล วรคำ.  (2532). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html.   เข้าถึงเมื่อ10/12/55

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น